โครงการครูทวิ/พหุภาษาศึกษา

25 กันยายน 2559 (ผู้ดูแลระบบ) โรงเรียนหน่วยฝึกฯ

หลักสูตรระยะสั้น ทวิ/พหุศึกษาภาษา
 

หลักสูตรระยะสั้น

เรื่อง การฝึกอบรมปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาษา-พหุภาษาศึกษา

สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

 

 
 

 

 

 

1.หลักสูตร

1.1      ชื่อหลักสูตรภาษาไทย:การฝึกอบรมปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาษา-พหุภาษาศึกษาสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

1.2               ชื่อวุฒิบัตร “นักศึกษาทวิ-พหุภาษาศึกษา”

2. ชื่อผู้รับผิดชอบหลักสูตร

2.1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกสรี      ลัดเลีย                    ประธานคณะกรรมการ

2.2 อาจารย์ปนัดดา                เรืองสงค์                กรรมการ

2.3 อาจารย์จันจลี                 ถนอมลิขิตวงศ์         กรรมการ

2.4 อาจารย์อาทิตยา              วงศ์มณี                     กรรมการ

2.5 อาจารย์ฟารีดา                สามะอาลี                                กรรมการและเลขานุการ

3.หน่วยงานที่รับผิดชอบ

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

4. หลักการและเหตุผล

หลักสูตรการฝึกอบรมปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนแบบทวิ-พหุภาษาศึกษาสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเป็นผลผลิตจากโครงการวิจัย  เรื่อง  “หลักสูตรการฝึกอบรมปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาษาโดยใช้ภาษาท้องถิ่นและภาษาไทยเป็นสื่อสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู    คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา  ซึ่งหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรที่มีเป้าหมายเพื่อให้นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูได้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำความรู้ที่มีไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาษาในโรงเรียนทวิภาษา 3  จังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงได้พัฒนาหลักสูตร “หลักสูตรการฝึกอบรมปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาษา-พหุภาษาศึกษาสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา” เพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป

5.วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรนี้มุ่งเน้นให้ผู้เข้ารับการอบรมจะได้ฝึกปฏิบัติและเรียนรู้เกี่ยวกับแนวคิดและหลักการการศึกษาพหุวัฒนธรรมชาติพันธุ์  ภาษา  และวัฒนธรรม  การจัดการเรียนรู้แบบทวิ-พหุภาษาศึกษา  พัฒนาการของมนุษย์แต่ละวัย  ทฤษฎีการเรียนรู้  การจัดการเรียนรู้แบบทวิ-พหุภาษาศึกษาโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญพัฒนาทักษะการอ่าน-เขียนภาษามลายูปาตานีด้วยอักษรไทยการสร้างสื่อการสอนแบบทวิ-พหุภาษาศึกษาและการผลิตสื่อการสอนแบบมัลติมีเดีย ปฏิบัติกลวิธีการสอนเพื่อพัฒนาสมองผ่านการใช้ภาษามลายูปาตานีและภาษาไทย   การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนแบบทวิ-พหุภาษาศึกษา  หลักสูตร ตัวชี้วัด  การเขียนแผนการสอนแบบทวิ-พหุศึกษาภาษาและการวัดและประเมินผล  และการเยี่ยมชมศึกษาดูงานเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาษาโดยใช้ภาษาท้องถิ่นและภาษาไทยเป็นสื่อในโรงเรียนทวิภาษา  3  จังหวัด

ชายแดนภาคใต้โดยมีวัตถุประสงค์หลักของหลักสูตรดังต่อไปนี้
                1.  เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาษาโดยใช้ภาษาท้องถิ่นและภาษาไทยเป็นสื่อ

2.  เพื่อให้นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนและในวิชาชีพครูต่อไปในอนาคต

3.  เพื่อสร้างความร่วมมือและความสัมพันธ์ในเชิงวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลามหาวิทยาลัยมหิดล  โรงเรียนและ ชุมชน ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

6. เป้าหมาย

6.1 เชิงปริมาณ

1.       นักศึกษาจากคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ปีละ 2 รุ่น รุ่นละ 50 คน รวม 100 คน เข้ารับการพัฒนาศักยภาพตามหลักสูตร

2.       ความพึงพอใจเฉลี่ยของผู้เข้ารับการพัฒนาตามหลักสูตรไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80

6.2  เชิงคุณภาพ

1.      นักศึกษาที่เข้ารับการพัฒนาศักยภาพตามหลักสูตรมีความรู้ความเข้าใจและสามารถจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทวิ-พหุภาษาศึกษาได้

7. คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม

เพื่อเป็นการส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาษาโดยใช้ภาษาท้องถิ่นและภาษาไทยเป็นสื่อสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา ดังนั้นผู้ที่จะเข้ารับการอบรมตามหลักสูตรนี้จะต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดดังนี้

7.1นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีครู ชั้นปีที่  4สาขาการศึกษา  ทั้ง  5  สาขา  คือ  สาขาการศึกษาปฐมวัย สาขาสังคมศึกษา สาขาภาษาไทย  สาขาภาษาอังกฤษ  สาขาคณิตศาสตร์   และสาขาวิทยาศาสตร์
          7.2 มีความสนใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบทวิภาษาโดยใช้ภาษาท้องถิ่นและภาษาไทยเป็นสื่อ

7.3 มีเจตคติทางบวกเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาษาโดยใช้ภาษาท้องถิ่นและภาษาไทยเป็นสื่อ

8. การคิดค่าลงทะเบียน

            ไม่คิดค่าลงทะเบียน

            คิดค่าลงทะเบียน อัตราค่าลงทะเบียน…………..บาท/คน

9. โครงสร้างหลักสูตร ประกอบด้วย

9.1  หัวข้อวิชา/เนื้อหาวิชาและจำนวนชั่วโมง

 

 

 

 

 

 

ตารางที่ 1 เนื้อหากิจกรรมและจำนวนชั่วโมงตามหลักสูตร

หน่วยการเรียนรู้

เนื้อหา

ชั่วโมง

ทฤษฎี-ปฏิบัติ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

 

 

1.1  แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับการศึกษาพหุวัฒนธรรม(1  วัน)

6

( 3-3 )

1.2 แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับชาติพันธุ์  ภาษาและวัฒนธรรม

3

(2-1)

1.3 การจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาษาทั้งในและต่างประเทศ

3

(2-1)

1.4 แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับพัฒนาการของมนุษย์แต่ละวัย

2

(2-0)

1.4 แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้

2

(2-0)

1.5 การจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาษาโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ

2

(2-0)

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

2.1 การพัฒนาทักษะการอ่าน-เขียนภาษามลายูปาตานีอักษรไทย  (3  วัน)

18

(6-12)

2.2 สื่อการเรียนการสอนแบบทวิ-พหุภาษาศึกษา(3  วัน)

18

(6-12)

2.3 การผลิตสื่อการสอนทวิภาษาแบบมัลติมีเดีย(2  วัน)

12

(3-9)

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

3.1 แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับหลักสูตร ตัวชี้วัด การเขียนแผนการสอนแบบทวิภาษาและการวัดและประเมินผล(4  วัน)

24

(12-12)

3.2กลวิธีการสอนเพื่อพัฒนาภาษาไทย (2  วัน)

1

(1-0)

3.3กลวิธีการสอนเพื่อพัฒนาสมองผ่านการใช้ภาษามลายูถิ่น  (2  วัน)

12

(6-6)

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

4.1 การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนแบบทวิภาษาและการศึกษาดูงานในโรงเรียนทวิ-พหุภาษาศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้(1  วัน)

6

(3-3)

 

รวม

120

(52–68)

 

 

10. ระยะเวลาในการอบรม

หลักสูตรนี้จัดการเรียนรู้ใน 2 ลักษณะคือ

10.1 ระบบการฝึกอบรมปฏิบัติการเป็นการฝึกอบรมภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ รวมเวลา 120ชั่วโมง  ใช้ระยะเวลา20วัน

10.2 การศึกษาดูงานการจัดการเรียนรู้แบบทวิ-พหุภาษาศึกษาในโรงเรียนทวิภาษา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

11. สถานที่จัดอบรม

ห้องประชุม 1  คณะครุศาสตร์ (อาคารมนุษยศาสตร์) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

12. วิทยากรในการจัดอบรม

          อาจารย์ผู้สอนหรือวิทยากรประจำหลักสูตรเป็นบุคคลที่ผ่านการอบรมหลักสูตร“Training for the Trainer “ TOT ของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล

อาจารย์ผู้สอนหรือวิทยากรประจำหลักสูตรแบ่งออกเป็น 3กลุ่ม ดังนี้

 

12.1    คณาจารย์ประจำในมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ดังรายชื่อต่อไปนี้

12.1.1  ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกสรี  ลัดเลีย

12.1.2  ดร.มูฮัมหมัดตอลาล  แกมะ

12.1.3  อาจารย์ฟารีดา  สามะอาลี

12.1.4  อาจารย์ปนัดดา  เรืองสงค์

12.1.5  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฉวีวรรณ  ธัญญะศิริกุล

12.1.6  อาจารย์จันจลี  ถนอมลิขิตวงศ์

12.1.7  อาจารย์สมฤดี  ปาละวัล

12.1.8  อาจารย์ปราณี  หลำเบ็ญสะ

12.1.9  อาจารย์นิปัทมา  กะระมีแน

12.1.10อาจารย์ศุภรัตน์  มฤคี

12.1.11อาจารย์สุรัสวดี  นราพงศ์เกษม

12.1.12อาจารย์โรสลีนา  ยูโซะ

12.1.13 อาจารย์หัสลินดา  บินมะแอ

12.1.14 อาจารย์อาทิตยา  วงศ์มณี

12.2    อาจารย์พิเศษหรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อมาบรรยายเป็นวิทยากรพิเศษ และร่วมเป็นวิทยากรในการอบรมกับคณาจารย์ในข้อ 11.1ได้แก่

12.2.1 Dr.Dennis  Malone                                 SIL International

12.2.2 Dr.Susan  Malone                                   SIL International

12.2.3ศ.เกียรติคุณ ดร.สุวิไล  เปรมศรีรัตน์ มหาวิทยาลัยมหิดล

12.2.4ผศ.ดร.ศิริเพ็ญ  อึ้งสิทธิพูนพร                 มหาวิทยาลัยมหิดล

12.2.5 อาจารย์ฮัสนะ  เจะอุบง                              ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ

12.2.6 อาจารย์แวมายิ  ปารามัล                            มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

12.2.7อาจารย์มิรินด้า  บูรรุ่งโรจญ์                  มหาวิทยาลัยมหิดล

12.2.8 อาจารย์ยูเนียนสาสมีต้า  สาเมาะ                   มหาวิทยาลัยมหิดล

12.2.9อาจารย์รุสดี  มาซอ                           มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

12.2.10นายมูฮัมหมัดอารีฟ    เละ                   คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

12.3    ครูผู้สอนในโรงเรียนทวิ-พหุภาษาศึกษา ดังรายชื่อต่อไปนี้

12.3.1 ครูอัสนะ  บินสุหลง                  โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 10

12.3.2ครูนัยเนตร อาแซ                    โรงเรียนบ้านกำปงปีแซ

12.3.3ครูซูรอยา  อาแว                           โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 10

12.3.4ครูแวซากีนะ  ดาโอะ                       โรงเรียนบ้านใหม่พัฒนวิทย์

12.3.5ครูฮัสนะ  เงาะ                              โรงเรียนบ้านจือโระ

12.3.6ครูจิรมาศ จันทรเพท                 โรงเรียนบ้านลดา

12.3.7ครูซูไรดา  อาแว                     โรงเรียนบ้านลดา

12.3.8ครูแวมีเนาะ  วาเลาะ                โรงเรียนบ้านกรือเซะ

12.3.9 ครูต่วนเยาะ  นิสะนิ                  โรงเรียนบ้านประจัน

12.3.10ครูสาวฮายาตี   มะแซ              โรงเรียนบ้านบน

12.3.11ครูสาวฮายีรา สือแม                โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ

12.3.12 ครูรุสน๊ะมะดิเย๊าะ                   โรงเรียนบ้านบึงน้ำใส

12.3.13 ครูสาแลฮ๊ะ  จางวาง               โรงงเรียนบ้านตำมะลังเหนือ

13. การประเมินผลและติดตามผลการดำเนินงาน

13.1 การประกันคุณภาพของหลักสูตร

             ระบบการประกันคุณภาพของหลักสูตรประกอบด้วย ประเด็นหลักๆ ดังต่อไปนี้

13.1.1 การบริหารหลักสูตร

          หลักสูตรนี้บริหารโดยคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

13.1.2 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

                ห้องสืบค้นอินเตอร์เน็ต ห้องบรรยาย ห้องปฏิบัติกิจกรรม สื่อการสอน คู่มือการอบรม และตำราที่เกี่ยวข้อง (ดังรายละเอียดในภาคผนวก 2)

13.1.3 การสนับสนุนการให้คำแนะนำ

          สนับสนุนและให้คำปรึกษาแนะนำ ตลอดจนติดตามผลครูผู้เข้ารับการอบรม โดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

13.1.4 การประเมินความพึงพอใจ

          ประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรม โดยใช้แบบประเมินผลความพึงพอใจ

13.2            การประเมินและปรับปรุงหลักสูตร

เพื่อให้หลักสูตรนี้ มีคุณภาพมาตรฐานจึงต้องมีการประเมินหลักสูตรอย่างต่อเนื่องเพื่อนำผลมาปรับปรุงและพัฒนาต่อไป โดยมีแผนในการประเมินและปรับปรุงดังนี้

แผนการพัฒนา

กลยุทธ์

หลักฐาน / ตัวบ่งชี้

1. การปรับปรุงหลักสูตรให้มีมาตรฐาน

กำหนดให้มีการประเมินผลการดำเนินงานหลักสูตร โดยวิธีการวิจัย

1. เอกสารหลักสูตรปรับปรุง

2. รายงานการวิจัย

2. การพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียนและการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา

1. มีการประเมินผลการดำเนินงานหลักสูตรอย่างต่อเนื่องระหว่างการอบรมและเมื่อดำเนินการอบรมเสร็จสิ้นไปแล้ว โดยถามความคิดเห็นจากครูผู้สอน และผู้เกี่ยวข้อง

1. รายงานผลการประเมินหลักสูตร

2. รายงานผลการประเมินคุณภาพการสอน

3. เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

14. ภาคผนวก (กำหนดการดำเนินการ ฯลฯ)

 

ภาคผนวก 1

กำหนดการอบรมปฏิบัติการเพื่อเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบทวิ-พหุภาษาศึกษา

สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

 

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1: แนวคิดและหลักการการจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาษา

วันที่1

08.00-08.45 น.

ลงทะเบียนและรับเอกสาร

ชมวิดีทัศน์ “พันแสงรุ้ง: รู้เรียนรู้รักทวิภาษา”

08.45–09.00น.

พิธีเปิดการอบรม

09.00–12.00น.

12.00-13.00 น.

บรรยายหัวข้อ“การจัดการศึกษาพหุวัฒนธรรม”  พร้อมรับประทานอาหารว่าง

พักรับประทานอาหารกลางวัน/ละหมาด

13.30–16:00น.

 

16.00–16.30 น.

วันที่ 2

08.45–09.00 น.

09.00–12.00 น.

12.00–13.00 น.

13.00–16.00 น. 

16.00–16.30 น.

วันที่ 3

08.30–09.00 น.

09.00–11.00น.

 

11.00-12.00 น.

12.00–13.00น.

13.00–14.00น. 

14.00-14.15 น.

14.15–16.30 น.

 

บรรยายหัวข้อ “บุคคลที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม”

และพักรับประทานอาหารว่าง

สรุปและอภิปรายร่วมกัน

 

ทบทวนสิ่งเรียนรู้แล้วในวันที่ 1

บรรยายหัวข้อ“แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับชาติพันธุ์  ภาษาและวัฒนธรรม”

พักรับประทานอาหารกลางวัน/ละหมาด

การจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาษาทั้งในและต่างประเทศ

สรุปและอภิปรายร่วมกัน

 

ทบทวนสิ่งเรียนรู้แล้วในวันที่ 2

บรรยายหัวข้อ“แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับพัฒนาการของมนุษย์แต่ละวัย”

พร้อมรับประทานอาหารว่าง

บรรยายหัวข้อ“แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้”

พักรับประทานอาหารกลางวัน/ละหมาด

บรรยายหัวข้อ“แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้”

พร้อมรับประทานอาหารว่าง

การจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาษาโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ

สรุปและอภิปรายร่วมกัน

 

 

 

 

หน่วยการเรียนรู้ 2  นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาษา

วันที่ 4 

08.30–09.00 น.                          ทบทวนสิ่งเรียนรู้แล้วในวันที่ 3

09.00–12.00 น.                   การพัฒนาทักษะการอ่าน-เขียนภาษามลายูปาตานีอักษรไทย  พร้อมรับประทานอาหารว่าง

12.00–13.00 น.                    พักรับประทานอาหารกลางวัน/ละหมาด

13.00–16.00 น.                          การนำระบบเขียนภาษามลายูปาตานีอักษรไทยไปใช้ประโยชน์พร้อม

                                                                รับประทานอาหารว่าง

16.00–16.30 น.                          สรุปและอภิปรายร่วมกัน

วันที่ 5 

08.30–09.00 น.                          ทบทวนสิ่งเรียนรู้แล้วในวันที่ 4

09.00–12.00 น.                          วิธีการพิมพ์สัญลักษณ์พิเศษพร้อมรับประทานอาหารว่าง

12.00–13.00 น.                    พักรับประทานอาหารกลางวัน/ละหมาด

13.00–16.00 น.                          วิธีการพิมพ์สัญลักษณ์พิเศษ (ต่อ) พร้อมรับประทานอาหารว่าง

16.00–16.30 น.                          สรุปและอภิปรายร่วมกัน

วันที่ 6 

08.30–09.00 น.                          ทบทวนสิ่งเรียนรู้แล้วในวันที่ 5

09.00–12.00 น.                          ตัวอย่างชิ้นงานและแบบฝึกหัด พร้อมรับประทานอาหารว่าง

12.00–13.00 น.                    พักรับประทานอาหารกลางวัน/ละหมาด

13.00–16.00 น.                          แบ่งกลุ่มนำเสนอตัวอย่างชิ้นงาน พร้อมรับประทานอาหารว่าง

16.00–16.30 น.                          สรุปและอภิปรายร่วมกัน

วันที่ 7 

08.30–09.00 น.                          ทบทวนสิ่งเรียนรู้แล้วในวันที่ 6

09.00–12.00 น.                          สื่อการสอนแบบทวิภาษาพร้อมรับประทานอาหารว่าง

12.00–13.00 น.                    พักรับประทานอาหารกลางวัน/ละหมาด

13.00–16.00 น.                          ประเภทของสื่อการสอนแบบทวิภาษาพร้อมรับประทานอาหารว่าง

16.00–16.30 น.                          สรุปและอภิปรายร่วมกัน

วันที่ 8 

08.30–09.00 น.                          ทบทวนสิ่งเรียนรู้แล้วในวันที่ 7

09.00–12.00 น.                          สื่อเน้นความหมาย พร้อมรับประทานอาหารว่าง

12.00–13.00 น.                    พักรับประทานอาหารกลางวัน/ละหมาด

13.00–16.00 น.                          สื่อเน้นความถูกต้อง พร้อมรับประทานอาหารว่าง

16.00–16.30 น.                          สรุปและอภิปรายร่วมกัน

วันที่ 9 

08.30–09.00 น.                          ทบทวนสิ่งเรียนรู้แล้วในวันที่ 8

09.00–12.00 น.                          วิธีการใช้สื่อการสอนแบบทวิภาษาในชั้นเรียน พร้อมรับประทานอาหารว่าง

12.00–13.00 น.                    พักรับประทานอาหารกลางวัน/ละหมาด

13.00–16.00 น.                   วิธีการใช้สื่อการสอนแบบทวิภาษาในชั้นเรียน (ต่อ)  พร้อมรับประทานอาหารว่าง

16.00–16.30 น.                          สรุปและอภิปรายร่วมกัน

วันที่ 10         

08.30–09.00 น.                          ทบทวนสิ่งเรียนรู้แล้วในวันที่ 9

09.00–12.00 น.                          การผลิตสื่อการสอนทวิภาษาแบบมัลติมีเดีย  พร้อมรับประทานอาหารว่าง

12.00–13.00 น.                    พักรับประทานอาหารกลางวัน/ละหมาด

13.00–16.00 น.                          ประเภทของสื่อการสอนมัลติมีเดีย  พร้อมรับประทานอาหารว่าง

16.00–16.30 น.                          สรุปและอภิปรายร่วมกัน

วันที่ 11         

08.30–09.00 น.                          ทบทวนสิ่งเรียนรู้แล้วในวันที่ 10

09.00–12.00 น.                          ขั้นตอนการผลิตสื่อมัลติมีเดีย  พร้อมรับประทานอาหารว่าง

12.00–13.00 น.                    พักรับประทานอาหารกลางวัน/ละหมาด

13.00–16.00 น.                          ตัวอย่างสื่อการสอนมัลติมีเดีย  พร้อมรับประทานอาหารว่าง

16.00–16.30 น.                          สรุปและอภิปรายร่วมกัน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3  กลวิธีการสอนแบบทวิภาษา

วันที่ 12         

08.30–09.00 น.                          ทบทวนสิ่งเรียนรู้แล้วในวันที่ 11

09.00–12.00 น.                          บรรยายหัวข้อ“หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย”พร้อมรับประทานอาหารว่าง

12.00–13.00 น.                    พักรับประทานอาหารกลางวัน/ละหมาด

13.00–16.00 น.                          บรรยายหัวข้อ“หลักสูตรแกนกลาง 2551”พร้อมรับประทานอาหารว่าง

16.00–16.30 น.                          สรุปและอภิปรายร่วมกัน

วันที่ 13         

08.30–09.00 น.                          ทบทวนสิ่งเรียนรู้แล้วในวันที่ 12

09.00–12.00 น.                          บรรยายหัวข้อ “หลักสูตรสถานศึกษา”  พร้อมรับประทานอาหารว่าง

12.00–13.00 น.                    พักรับประทานอาหารกลางวัน/ละหมาด

13.00–16.00 น.                          บรรยายหัวข้อ “หลักสูตรสถานศึกษา”  (ต่อ) 

พร้อมรับประทานอาหารว่าง

16.00–16.30 น.                          สรุปและอภิปรายร่วมกัน

วันที่ 14         

08.30–09.00 น.                          ทบทวนสิ่งเรียนรู้แล้วในวันที่ 13

09.00–12.00 น.                          แผนการสอนแบบทวิภาษา พร้อมรับประทานอาหารว่าง

12.00–13.00 น.                    พักรับประทานอาหารกลางวัน/ละหมาด

13.00–16.00 น.                          สาธิตการสอน  ตามแผนการสอน  พร้อมรับประทานอาหารว่าง

16.00–16.30 น.                          สรุปและอภิปรายร่วมกัน

วันที่ 15         

08.30–09.00 น.                          ทบทวนสิ่งเรียนรู้แล้วในวันที่ 14

09.00–12.00 น.                          การวัดและประเมินผล  พร้อมรับประทานอาหารว่าง

12.00–13.00 น.                    พักรับประทานอาหารกลางวัน/ละหมาด

13.00–16.00 น.                          การวัดและประเมินผล  (ต่อ)  พร้อมรับประทานอาหารว่าง

16.00–16.30 น.                          สรุปและอภิปรายร่วมกัน

วันที่ 16         

08.30–09.00 น.                          ทบทวนสิ่งเรียนรู้แล้วในวันที่ 15

09.00–12.00 น.                   กลวิธีการสอนเพื่อพัฒนาสมองผ่านการใช้ภาษามลายูถิ่นระดับอนุบาล พร้อมรับประทานอาหารว่าง

12.00–13.00 น.                    พักรับประทานอาหารกลางวัน/ละหมาด

13.00–16.00 น.                          กลวิธีการสอนเพื่อพัฒนาสมองผ่านการใช้ภาษามลายูถิ่นระดับอนุบาล